บทวิเคราะห์ อาเซียนกําลังเปิดรับโอกาสการพัฒนามากขึ้น

0
1

ตั้งแต่ย่างเข้าปี 2024 เป็นต้นมา บรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนยังคงดําเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ดึงการลงทุนจากต่างประเทศ ฟื้นฟูการท่องเที่ยว ส่งเสริมการพัฒนาระบบดิจิทัล เสริมสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค ยกระดับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และสํารวจโอกาสในการร่วมมือกับจีนอย่างแข็งขัน อาเซียนจึงมีโอกาสการพัฒนามากขึ้น

เมื่อเร็ว ๆ นี้ รายงานจากที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ระบุว่า ปี 2023 การลงทุนกรีนฟิลด์ (green-field investment )ในประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งรวมถึงไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา เป็นต้นเพิ่มขึ้น 37% การลงทุนกรีนฟิลด์หมายถึง บริษัทข้ามชาติลงทุนตั้งบริษัทย่อยในประเทศหนึ่ง โดยเริ่มจากศูนย์  ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างอาคารสํานักงาน คลังสินค้า สิ่งอํานวยความสะดวกในการอยู่อาศัย และโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุน ซึ่งมักจะนําไปสู่การเติบโตของกําลังการผลิต ผลผลิต และการจ้างงานในประเทศเจ้าบ้านโดยตรง ยานยนต์ไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน อีคอมเมิร์ซ กลายเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ประเทศสมาชิกอาเซียนดึงการลงทุนกรีนฟิลด์จากต่างประเทศ

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมเสาหลักในหลายประเทศสมาชิกอาเซียน ปี 2023 การท่องเที่ยวของบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด โดยมีจํานวนนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้ และทั้งอุตสาหกรรมการบินและการบริการโรงแรมต่างมีแนวโน้มการพัฒนาที่ดี จากข้อมูลที่เกี่ยวข้องพบว่า ปี 2023 ประเทศไทยได้รับรองนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 28 ล้านคน เพิ่มจากปี 2022 ประมาณ 154% ปี 2023  เวียดนามได้รับรางวัลหลายรางวัลจากองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งสหประชาชาติ ซึ่งรวมถึงการได้รับการเสนอชื่อให้เป็นจุดหมายปลายทางมรดกชั้นนําของโลกเป็นครั้งที่ 4 และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชั้นนําของเอเชียเป็นครั้งที่ 5 ส่วนประเทศลาวได้รับการเสนอชื่อให้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจที่สุดจากนิตยาสาร National Geographic ในกัมพูชาสนามบินนานาชาติเสียมราฐอังกอร์ซึ่งสร้างร่วมกันโดยจีนและกัมพูชาเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อปลายปีที่แล้ว จัดเป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา  ปัจจุบัน  สนามบินแห่งหนี้สามารถจะรองรับผู้โดยสารได้ 7 ล้านคนต่อปี คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านคนภายในปี 2030

ตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมา บรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนได้เพิ่มความพยายามในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น  ประเทศลาวได้ประกาศใช้นโยบายการท่องเที่ยว “ยินดีต้อนรับผู้คนทั้งหลายไปเยือนลาว” และจะจัดงาน “ปีการท่องเที่ยวลาว” ในช่วงนี้ ลาวจะจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องจำนวน 79 รายการในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าว่าจะดึงนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 4.6 ล้านคนในปีนี้ และจะสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวมูลค่า 712 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับรัฐบาลอินโดนีเซียวางแผนที่จะสร้างงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว 4.4 ล้านตําแหน่งภายในปี 2024 และวางแผนที่จะลงทุน 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐในการฝึกอบรมบุคลากรและการตลาดเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว

เมื่อเร็ว ๆ นี้  S&P Global สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลกได้เผยแพร่ “แนวโน้มเศรษฐกิจอาเซียนประจำปี 2024” และคาดการณ์ว่า  อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศสมาชิกอาเซียนจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีนี้

ในขณะเดียวกัน บรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนกําลังเร่งพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งรวมถึงอีคอมเมิร์ซ การจัดส่งอาหาร และสื่อออนไลน์ โดยสัดส่วนการทําธุรกรรมออนไลน์ในอุตสาหกรรมต่างๆเช่นเทคโนโลยีการแพทย์เทคโนโลยีการศึกษา และยานยนต์ก็เพิ่มขึ้น

ตามรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปี 2023 ที่เผยแพร่โดยบริษัท Google บริษัท Temasek และ บริษัท Bain คาดการณ์ว่า มูลค่าการค้าทางเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 2023 สูงถึง 218,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับปี 2022 นอกจากนี้ การชําระเงินผ่านระบบดิจิทัลมีสัดส่วนมากกว่า 50% ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของภูมิภาค ซึ่งช่วยส่งเสริมการพัฒนาบริการทางการเงินดิจิทัลอีกด้วย สำหรับประเทศเวียดนามได้กลายเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดในแง่ของการชําระเงินดิจิทัล ปี 2023 ธุรกรรมการชําระเงินดิจิทัลทั้งหมดของเวียดนามเพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ความเฟื่องฟูของอีคอมเมิร์ซได้สร้างช่องทางการขายใหม่ที่มีประสิทธิภาพ และกลายเป็นพลังขับเคลื่อนการค้าของอาเซียนด้วย

เมื่อเดือนกันยายนปี 2023 อาเซียนได้เปิดการเจรจาเกี่ยวกับกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเป็นทางการ ข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุมการค้าดิจิทัล อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน ความปลอดภัยทางไซเบอร์ การชําระเงินดิจิทัล และด้านอื่นๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อเร่งความเป็นระบบดิจิทัลของอาเซียน คาดว่า ขนาดเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2030 ซึ่งจะช่วยเพิ่มพลังและความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในเศรษฐกิจโลก

นอกจากนี้การลงทุนของจีนในประเทศอาเซียนได้ส่งเสริมการยกระดับการค้าของอาเซียน ได้ส่งเสริมการเชื่อมต่อระหว่างห่วงโซ่อุตสาหกรรมการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน และเพิ่มกําลังการผลิตของประเทศอาเซียน

ตามข้อมูลจากสำนักงานศุลกากรแห่งชาติจีน การค้าทวิภาคีระหว่างจีนและอาเซียนจะยังคงเติบโตในปี 2023 โดยมูลค่าการนําเข้าและส่งออกระหว่างกันสูงถึง 6.41 ล้านล้านหยวน อาเซียนยังคงรักษาตําแหน่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีนเป็นเวลา 4 ปีติดต่อกัน และจีนยังเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอาเซียนเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน เศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจสีเขียว และพลังงานใหม่กําลังกลายเป็นสาขายอดนิยมสําหรับการลงทุนของจีนในอาเซียน

ในอนาคตการดําเนินการตามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และการกระชับเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นจะสร้างโอกาสการพัฒนาให้กับอาเซียนมากขึ้นด้วย

เขียนโดย โจว ซวี่ ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)