ความสัมพันธ์กับจีน นำความเจริญสู่อาเซียน

0
52
(Xinhua) -- Thai Prime Minister Prayuth Chan-ocha delivers a speech at the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) Business and Investment Summit (ABIS) 2019 in Bangkok, Thailand, Nov. 2, 2019. (Xinhua/Rachen Sageamsak)

เมื่อวันจันทร์ (4 พ.ย.) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งเป็นประธานของสมาคมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ได้ชื่นชมความช่วยเหลือของจีนที่ส่งผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค

นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวในคืนวันอาทิตย์ว่า (3 พ.ย.) พลเอก ประยุทธได้แสดงความชื่นชมต่อความพยายามของจีนในการส่งเสริมผลประโยชน์ทางการค้าอย่างรอบด้าน

หลังจากการแก้ไขพิธีสารเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนอย่างเต็มรูปแบบ เกิดขึ้นเพื่อปรับเปลี่ยนกรอบความตกลงเดิมสำหรับความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) เพียงไม่นาน” นฤมลกล่าว

การแก้ไขครั้งนี้ก็จะส่งผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ในการดำเนินงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

นฤมลชี้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าและเกิดการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งที่สุด โดยจีนยังรั้งตำแหน่งหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ของอาเซียนเป็นเวลา 10 ปี ขณะที่อาเซียนครองตำแหน่งคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของจีนในปัจจุบัน

นับตั้งแต่เปิดตัวความตกลง ACFTA ในปี 2010 ปริมาณการค้าระหว่างอาเซียนและจีนได้แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 5.87 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 17.73 ล้านล้านบาท) ในปี 2018

นฤมลย้ำว่า อาเซียนและจีนต่างมุ่งมั่นที่จะเพิ่มปริมาณการค้าและการลงทุนระดับทวิภาคี พร้อมบรรลุข้อสรุปของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) โดยเร็ว

พลเอกประยุทธ์ยังกล่าวกับผู้นำอาเซียนคนอื่นๆ ในการประชุมสุดยอดว่า การเจรจาการค้าของอาร์เซ็ปควรบรรลุฉันทามติโดยเร็ว เพื่อกระตุ้นการเติบโตท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

อนึ่ง อาร์เซ็ปประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศในอาเซียน และคู่ค้า 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์