ยกทัพสินค้า GI ทั่วไทย

0
1651

ภาพบรรยากาศงาน “ยกทัพสินค้า GI ทั่วไทย”

ยกระดับความภาคภูมิใจอัตลักษณ์ชุมชน

วันที่   27 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2560

ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ

GI  คืออะไร

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical indication) คือเครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจงซึ่งคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้นๆ เป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว GI จึงเปรียบเสมือนเป็นแบรนด์ของท้องถิ่นที่บ่งบอกถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า

กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับกลุ่ม เซ็นทรัล เพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการสินค้า GI ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการ GI ให้สามารถอยู่ได้อย่าง มั่นคง มั่งมี ยั่งยืน ตามนโยบายของรัฐบาล โดยการเพิ่มช่องทางการตลาดภายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ นอกจากการส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสินค้าและการพัฒนาระบบควบคุมสินค้า GI ให้ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับสำหรับผู้บริโภค และเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ใน ปีนี้ภาคเอกชนอย่าง เซ็นทรัล เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันสินค้า GI ให้ถึงมือผู้บริโภค ทั้งยังร่วมผลัดดันให้ผู้ประกอบการสินค้า GI เข้าสู่ระบบควบคุมคุณภาพ

งาน GI Market 2017 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ยกทัพสินค้า GI ทั่วไทย ยกระดับความภาคภูมิใจอัตลักษณ์ชุมชน” เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพ คุณลักษณะโดดเด่น และคุณค่าของสินค้า GI จากทั่วประเทศ ซึ่งเกิดจากปัจจัยธรรมชาติผสมผสานเข้ากับภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ทำให้ได้สินค้าที่มีลักษณะเฉพาะจนเป็นที่กล่าวขานกันทั่วไป

ภายในงานนอกจากจะได้ชิม มาช็อป สินค้า GI ที่เป็นของดี ของแท้ ของหายาก เช่น ส้มโอปูโกยะรัง จากปัตตานีที่เป็นส้มโอเนื้อสีแดงขายส้มโอทับทิมสยามปากพนังแต่เนื้อจะมีความแห้งกว่าและมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว หมูย่างเมืองตรังที่บินตรงมาจากตรังทุกวันเพื่อให้ผู้บริโภคได้ซื้อของดีของแท้จากแหล่งผลิตจริงๆ น้ำหมากเม่าสกลนคร สุดยอดเบอรี่ไทยที่มีวิตามินสูง ผ้าไหมกดอกลำพูน หัตถกรรมชั้นสูงที่ทอมือชาวลำพูน เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถร่วมสนุกกับ workshop การทำอาหารและงานหัตถกรรมจากสินค้า GI ไม่มีซ้ำ 3วัน 7อย่าง ทุกวันเวลา 14.00 น. เช่น ชงกาแฟดอยตุงอย่างมีศิลปะ ทำเครื่องประทินผิวจากดินสอพองลพบุรี ปักไหมเก็บบ้านเมืองหลวง ย้อมผ้าครามธรรมชาติสกลนคร ทำขนมจากข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ และวาดเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง รวมทั้งเพลิดเพลินกับการแสดงมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินที่มีชื่อเสียงผลัดเปลี่ยนกันมาให้ความบันเทิงในแต่ละวันเวลา 17.30 น. อาทิ แหนม รณเดช,อ้น กรกฎ ,อาร์ม กรกันต์ ,อาร์ the star ,รอน AF ,ลำยอง หนองหินห่าว และบิว กัลยานี

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาสินค้า GI อย่างต่อเนื่อง และควบคุมทุกมิติ ทั้งการส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสินค้า GI การพัฒนาระบบควบคุม และการพัฒนาตลาดสินค้า GI เพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการสินค้า GI ไทยให้เป็นที่รู้จัก และให้ผู้บริโภคยอมรับ ในคุณภาพมาตรฐานของสินค้า GI มากขึ้นนำ ไปสู่การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับชุมชน โดยคาดว่าในปีนี้จะสามารถดำเนินการส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสินค้า GI ให้ครบทุกจังหวัด

ปัจจุบันประเทศไทยให้ความคุ้มครองสินค้า GI ไทยและต่างประเทศ รวม 90 รายการ เป็นสินค้า GI ไทย 76 รายการ 53 จังหวัด และ GI ต่างประเทศ 14 รายการ 8 ประเทศโดยสินค้า GI ไทยได้รับการคุ้มครองในต่างประเทศ มีทั้งหมด 6 รายการ ได้แก่  สหภาพยุโรป 4สินค้า คือ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ กาแฟดอยตุง กาแฟดอยช้าง แลกข้าวสังข์หยอเมืองพัทลุง ในเวียดนาม คือเส้นใหม่ไทยพื้นบ้านอีสาน และผ้าไหมยกดอกลำพูนในอินโดนีเซีย

ในปีนี้ได้รับความร่วมมือกับบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด จัดมุม GI Corner เพื่อขยายช่องทางการตลาดสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ไทย โดยได้รันำร่องใน 2สาขา คือ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ สาขาเซ็นทรัลชิดลม และ ท็อปส์ มาร์เก็ต สาขาเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ คาดว่า สิ้นปี 2560 จะมี GI Corner ครบ 100 สาขา รวมทั้งได้ดำเนินการสนับสนุนการจัดทำ ระบบมาตรฐานสินค้า GI ที่เป็นการควบคุมคุณภาพสินค้าให้สามารถตรวจสอบย้อนหลังกลับถึงแหล่งผลิตได้เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค โดยในปี 2561 ได้วางแผนเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบมาตรฐานสินค้า GI ให้แก่เกษตรกร 1250 ราย และได้จัดทำโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้า GI ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและตลาด เพื่อให้ผู้ประกอบการสินค้า GI มีความยั่งยืนในการทำตลาดสินค้าด้วยตนเองต่อไป

 

รายชื่อร้านค้าสินค้า GI


  1. ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง
  2. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ร้อยเอ็ด
  3. ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท
  4. น้ำหมากเม่าสกลนคร
  5. นิลเมืองกาญจน์
  6. มะยงชิดมะปรางหวานนครนายก
  7. กาแฟดงมะไฟ
  8. กล้วยหินบันนังสตา
  9. ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี
  10. ชาเชียงราย
  11. ข้าวไร่ลืมผัวเพชรบูรณ์
  12. กล้วยตากบางกระทุ่ม
  13. ส้มโอนครชัยศรี
  14. สับปะรดภูแลเชียงราย
  15. มะนาวเพชรบูรณ์
  16. ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้
  17. ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์
  18. หมูย่างเมืองตรัง
  19. ผ้าครามธรรมชาติสกลนคร
  20. ศิราดลเชียงราย
  21. กล้วยตากสังคม
  22. สับปะรดบ้านคา
  23. กาแฟดอยตุง
  24. ขนมหม้อแกงเมืองเพชร
  25. ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม
  26. มะพร้าวน้ำหอมแม่กลอง
  27. เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด
  28. ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
  29. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
  30. เสื่อจันทบูร
  31. พริกไทยจันทบุรี
  32. เกลือสินเธาว์บ่อเกลือน่าน
  33. ดินสอพองลพบุรี
  34. กล้วยไข่กำแพงเพชร
  35. เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง
  36. ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์
  37. ม่อฮ่อมแพร่
  38. ผ้าหมักโคลนหนองสูง
  39. ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท
  40. ผ้าไหมยกดอกลำพูน
  41. ผ้าไหมบ้านเมืองหลวง
  42. ผ้าไหมมัดหมี่ซิ่นตีนแดงบุรีรัมย์
  43. หินอ่อนพรานกระต่ายกำแพงเพชร
  44. ปลาสลิดบางบ่อ
  45. กระท้อนตะลุง
  46. ข้าวแต๋นลำปาง
  47. ชามไก่ลำปาง
  48. เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
  49. ลูกหยียะรัง
  50. สับปะรดห้วยมุ่น
  51. ไข่เค็มไชยา
  52. ปลาทูแม่กอง
  53. แห้วสุพรรณ
  54. ปลาแรดลุ่มน้ำสะแกกรังอุทัยธานี
  55. ส้มโอปูโกยะรัง
  56. น้ำตาลโตนดเมืองเพชร
  57. ลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูน
  58. กาแฟเขาทะลุ
  59. กล้วยเล็บมือนางชุมพร
  60. มะขามหวานเพชรบูรณ์

รายงานโดย  สิตานัน ตติพัฒน์วัฒนา  นักศึกษาสาขาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์