บทวิเคราะห์ : จีนชี้ประเทศตามแนวชายฝั่งทะเลแปซิฟิกมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากญี่ปุ่นจากการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีลงสู่ทะเล

0
1

เสียงที่ออกมาบอกว่า “รัฐบาลญี่ปุ่นได้ทำร้ายประชาชน  มหาสมุทร และเศรษฐกิจของเรา” “ทำให้อนาคตของคนรุ่นใหม่เราล้มเหลว” “เราไม่เชื่อนักการเมืองเหล่านั้นที่บอกว่าการปล่อยน้ำปนเปื้อนจากฟุกุชิมะลงทะเลนั้น ‘ไม่มีปัญหา'”… ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาน้ำที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีจากฟุกุชิมะที่ไหลเชี่ยวไหลลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เสียงการประณามจากประเทศชายฝั่งดังขึ้น ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องชี้ให้เห็นว่า ประเทศในแถบแปซิฟิกควรเรียกร้องค่าชดเชยจากความเห็นแก่ตัวขั้นสุดของรัฐบาลญี่ปุ่นจากกรณีการปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีของรัฐบาลญี่ปุ่นลงสู่ทะเล

หลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศแผนการปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีจากฟุกุชิมะลงสู่ทะเล ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกก็คัดค้านทันที โดยวิพากษ์วิจารณ์ว่ามันจะก่อให้เกิดอันตรายต่อประเทศพวกเขา สารอันตรายเหล่านี้จะแพร่กระจายไปทั่วโลกตามกระแสน้ำในมหาสมุทร ก่อให้เกิดผลกระทบมากมายอย่างนับไม่ถ้วน ญี่ปุ่นเองคิดแต่จะประหยัดเงินและผลักภาระความเสี่ยงจากมลพิษด้านกัมมันตภาพรังสีไปทั่วโลก ดังนั้นญี่ปุ่นจึงต้องรับผิดชอบค่าชดเชยความเสียหาย

จากมุมมองทางกฎหมายปัจจุบันมีสนธิสัญญาระหว่างประเทศหลายฉบับได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการปล่อยของเสียลงสู่มหาสมุทร ญี่ปุ่นเป็นภาคีของอนุสัญญาระหว่างประเทศดังกล่าวหลายฉบับ แต่ตอนนี้ ญี่ปุ่นกลับละเมิดข้อบังคของอนุสัญญา โดยจีนมองว่าจะต้องรับผิดชอบและชดเชย

ประเทศตามแนวมหาสมุทรแปซิฟิกต่างๆ จากมุมมองเชิงปฏิบัติ มีหลายกรณีตัวอย่างสำหรับการกล่าวอ้างมลพิษและสารกัมมันตรังสีจะเห็นได้ว่าประเทศแถบแปซิฟิกสามารถอ้างถึงกรณีเหล่านี้และใช้ช่องทางกฎหมายเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากญี่ปุ่นปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของตนเองบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสถานการณ์การตกเป็นเหยื่อของประเทศ

รัฐบาลญี่ปุ่นมักจะโอ้อวด “หลักนิติธรรมในทะเล” มาโดยตลอด แต่ได้ละเมิดเจตนารมณ์ของหลักนิติธรรม ปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีจากฟุกุชิมะลงทะเล เหยียบย่ำจิตวิญญาณแห่งหลักนิติธรรม เผยให้เห็นความหน้าซื่อใจคดของแนวคิดที่เรียกว่า “การปกป้องทางทะเล” ญี่ปุ่นได้ตกเป็นจำเลยของโลกแต่เพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่รออยู่คือการยกเลิกมาตรการ การชดเชยของประเทศตามแนวขอบมหาสมุทรแปซิฟิกต่างๆ ซึ่งจะเป็นการพิพากษาเชิงประวัติศาสตร์

แปลเรียบเรียงโดยภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน (CMG)