วิจารณ์สนั่น!นักวิเคราะห์ชี้ปักกิ่งไม่ควรควบคุมจำนวนประชากร

0
171
วิจารณ์สนั่น!นักวิเคราะห์ชี้ปักกิ่งไม่ควรควบคุมจำนวนประชากร

ปัญหาประชากรนับเป็นปัญหาที่เห็นได้ทั่วไปสำหรับเมืองใหญ่พิเศษต่างๆทั่วโลก เป็นที่ทราบกันว่า จีนเป็นประเทศที่มีประชากรจำนวนมากที่สุดในโลก แต่การกระจายตัวของประชากรในท้องที่ต่างๆยังไม่สมดุล เมืองใหญ่พิเศษที่มีโอกาสมากกว่าเมืองทั่วไปมีประชากรจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ประชากรในเมืองเล็กและเขตชนบทมีจำนวนลดน้อยลง คำถามที่กล่าวว่า เมืองใหญ่พิเศษควรควบคุมจำนวนประชากรหรือไม่? เป็นประเด็นที่มีการพูดกันมาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งเทศบาลปักกิ่งก็กำลังพิจารณาแผนควบคุมประชากรเมือง เมื่อเร็วๆ นี้ มีนักวิเคราะห์เขียนบทความลงบนโลกออนไลน์ โดยแสดงความคิดเห็นว่า การที่กรุงปักกิ่งควบคุมจำนวนประชากรนั้น จะสร้างความเสียหายมากกว่า แน่นอนว่าบทความนี้ทำให้เกิดการวิพากวิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในทันที

วิจารณ์สนั่น!นักวิเคราะห์ชี้ปักกิ่งไม่ควรควบคุมจำนวนประชากร

นักวิเคราะห์ผู้นี้เห็นว่า ในอนาคต กรุงปักกิ่งสามารถรองรับพลเมืองได้ 50 ล้านคน พร้อมแจงเหตุผลว่า ปัจจุบัน ประชากรในกรุงปักกิ่งมีจำนวนกว่า 18 ล้านคน จัดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก แต่กรุงโตเกียวของญี่ปุ่นมีประชากร 37 ล้านคน ขณะที่ทั่วประเทศญี่ปุ่นมีประชากรทั้งหมดแค่ 127 ล้านคน ส่วนจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกและเศรษฐกิจกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ปักกิ่งยังมีพื้นที่ 70-80% ที่บุกเบิกพัฒนาได้ การวางแผนรองรับประชากร 50 ล้านคนนั้น จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ไม่ยาก

ตามแผนพัฒนาระยะ 5 ปีฉบับที่ 13 ที่ปักกิ่งประกาศเมื่อปี 2016 ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ปักกิ่งจะควบคุมจำนวนประชากรให้อยู่ภายใน 23 ล้านคน ซึ่งต่างกับตัวเลข 50 ล้านคนกว่าหนึ่งเท่า

เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก การใช้ทรัพยากรน้ำของกรุงปักกิ่งนับว่ามีประสิทธิภาพค่อนข้างสูงแล้ว แม้อาจจะปรับให้สูงขึ้นได้อีก ขณะเดียวกัน ผู้อยู่อาศัยที่กรุงปักกิ่งยังมีความต้องการที่จะยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้น ปักกิ่งจึงยากที่จะรองรับประชากรเพิ่มอีกจำนวนมาก ศาสตราจารย์หยาง ศาสตราจารย์คายจงจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งเห็นว่า จนถึงปี 2020 หรือต่อไปในระยะยาว กรุงปักกิ่งควรจะควบคุมจำนวนประชากรไว้ที่ไม่เกิน 23 ล้านคนตามแผนพัฒนา

แต่อย่างไรก็ตาม มักจะมีเสียงคัดค้านว่า การควบคุมจำนวนประชากรจะไม่ได้ผลใดๆ เพราะมาตรการต่างๆของรัฐบาล ไม่เคยใช้ได้ผล

วิจารณ์สนั่น!นักวิเคราะห์ชี้ปักกิ่งไม่ควรควบคุมจำนวนประชากร

เมื่อปี 1983 คณะรัฐมนตรีจีนอนุมัติแผนแม่บทว่าด้วยการสร้างสรรค์กรุงปักกิ่ง โดยเรียกร้องว่า ภายในปี 2000 ต้องควบคุมจำนวนประชากรที่กรุงปักกิ่งไม่ให้เกิน 10 ล้านคน แต่เวลาผ่านไปแค่ 3 ปี ประชากรในกรุงปักกิ่งก็เพิ่มเป็น 10 ล้านคนแล้ว

ต่อมาในปี 1993 มีการกำหนดให้ปี 2010 ต้องควบคุมจำนวนประชากรประจำกรุงปักกิ่งไม่ให้เกิน 13 ล้านคน แต่พอถึงปี 2000 ประชากรประจำกรุงปักกิ่งก็เพิ่มเป็น 13,820,000 คน ซึ่งเป็นเวลาที่เร็วกว่ากำหนดถึง 10 ปี

หลังจากแผนควบคุมจำนวนประชากรประสบความล้มเหลวหลายต่อหลายครั้ง ปี 2016 กรุงปักกิ่งจึงตั้งเป้าควบคุมอีกครั้ง โดยกำหนดว่าในช่วง 5 ปีข้างหน้า จะควบคุมจำนวนประชากรประจำกรุงปักกิ่งให้ไม่เกิน 23 ล้านคน แต่เนื่องจากเป้าหมายในอดีตไม่เคยบรรลุเป็นจริง ผู้คนจำนวนไม่น้อยจึงเห็นว่า มาตรการควบคุมไม่มีประโยชน์ใดๆ

แต่ศาสตราจารย์หยาง คายจงก็ไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นดังกล่าว โดยชี้ให้เห็นว่า การเติบโตของจำนวนประชากรในเมืองต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การคมนาคม ที่ดิน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว กลไกตลาดมีบทบาทนำในกระบวนการเติบโตของประชากร แต่ก็ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะต่อให้เป็นประเทศที่เศรษฐกิจมีความเสรีมากที่สุดในโลก การอาศัยบทบาทของกลไกตลาดอย่างเดียวก็ยากที่จะทำให้ประชากรกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ อย่างเหมาะสม จึงต้องมีการควบคุมโดยรวมจากรัฐบาลด้วย จึงจะควบคุมการเติบโตของประชากรได้อย่างเหมาะสม

ไม่เพียงแต่จีนเท่านั้นที่ประสบปัญหานี้ ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเกือบทุกประเทศต่างมีมาตรการการควบคุมการเติบโตของประชากร วิธีการสำคัญในการควบคุมจำนวนประชากรของสหรัฐฯ คือจำกัดการจัดสรรที่ดินในระยะหนึ่ง การจัดสรรที่ดินมากหรือน้อยนั้น จะมีอิทธิพลต่อราคาที่ดินและราคาบ้าน ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อแรงดึงดูดประชากรของเมืองนี้ วิธีนี้ใช้เพื่อควบคุมและชี้นำการย้ายเข้า-ย้ายออกของประชากร ประสบการณ์ของสหรัฐฯแสดงให้เห็นว่า กลไกตลาดก็พลาดได้บ้างเช่นกัน ดังนั้นมาตรการการควบคุมจากรัฐบาลเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้